เมนู

อรรถกถากัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ 8


อรรถกถาสูตรที่ 1



สูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กลฺยาณมิตฺตตา ความว่า ชื่อว่ากัลยาณมิตร เพราะมี
มิตรดี ภาวะแห่งความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรนั้น ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา
ความเป็นผู้มีมิตรดี. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับคำ
ดังกล่าวนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุโยโค ได้แก่ การประกอบ การประกอบทั่ว. บทว่า
อนนุโยโค ได้แก่ การไม่ประกอบ การไม่ประกอบทั่ว. บทว่า
อนุโยคา แปลว่า เพราะการประกอบเนือง ๆ. บทว่า อนนุโยคา
แปลว่า เพราะไม่ประกอบเนือง ๆ. บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่
กุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3


ในสูตรที่ 3 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โพชฺฌงฺคา ได้แก่ ธรรม 7 ประการ อันเป็นองค์คุณ
ของสัตว์ผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่ง
ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้อันเป็นเหตุออกจากวัฏฏะ หรือทำให้แจ้ง
สัจจะ 4 ของสัตว์ผู้ตรัสรู้นั้น. บทว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่า
โพชฌงค์ ด้วยอรรถว่ากระไร ? ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะองค์แห่ง
ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ตาม. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น
องค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้พร้อม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น
ไปพร้อม ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้. ก็บท (ว่าโพชฌงค์) นี้ ท่านจำแนก
ไว้แล้วด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทนี้ว่า ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ ย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่ ดังนี้ ท่านกล่าวถึงภูมิพร้อมด้วยกิจ ตามความเป็นจริง แห่ง